Lenovo Vibe Shot VS SONY NEX-F3 Camera Test
ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนเลยว่า การ Test ในครั้งนี้ ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อมุ่งโจมตีค่ายใดค่ายหนึ่งใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะผู้เขียน ผู้ทำการ Test เป็นสาวก SONY และก็ชื่นชอบผลิตภัณฑ์ของ Lenovo อยู่ สาเหตุที่หยิบมา Test ก็เพราะว่า........... อุปกรณ์มีแค่นี้แหล่ะ และเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่จริง ๆ ในชีวิต ใช้ถ่ายกิจกรรม Event ต่าง ๆ
การ Test ครั้งนี้เพื่อทดสอบว่า กล้องของเจ้า Lenovo Vibe Shot นั้นสามารถสู้คุณภาพกับกล้อง DSLR เมื่อหลายปีก่อนได้หรือไม่
ก่อนอื่นมาดู Spec คร่าว ๆ ของกล้องทั้งสองตัวกันก่อนดีกว่า
Lenovo Vibe Shot
* 16 MP, 2997 x 5328 pixels,
* 16:9 BSI CMOS sensor
* f/2.2 (Samsung sensor)
* optical image stabilization,
* autofocus,
* triple-LED (dual-tone) flash
* Light Sensitivity ISO 100-1600
เปิดตัวเมื่อปี 2558 (2015) เดือนมีนาคม
SONY NEX-F3
* 16.1MP
* Exmor APS HD CMOS
* Sensor size:
APS-C (23.5mm x 15.6mm)
* Kit Lens: 18-55mm f/2.8
* Image Processor BIONZ
* AE/AF Control Face-priority AF, Subject-tracking AF
* Light Sensitivity ISO 200-16000, ISO auto (200-3200)
* pop-up flash
เปิดตัวเมื่อปี 2555 (2012)
การถ่ายจะถ่ายในกล่องควบคุมสภาพแสง (ที่ใช้ถ่ายพวกฟิกเกอร์เป็นประจำ) และเปิด Xperia Z ด้วยแอพ Light Sensor (สามารถหาโหลดได้ใน Google Play ฟรี!!)
กล้องทั้งสองตัวใช้ Auto Mode แบบพิเศษทั้งคู่ (Lenovo Smart Comp. / SONY Superior Auto)
เนื่องจากไม่ให้เป็นการงงว่าภาพไหน เป็นกล้องอะไร จึงได้ Print กระดาษแปะไว้ด้านหลัง และสลับเอาเวลาเปลี่ยนกล้อง ไม่มีการใช้โปรแกรมตกแต่งรูปภาพใด ๆ ทั้งสิ้น นำภาพดิบ ๆ เดิม ๆ มาอัพโหลดให้ดูกันเลย แถมมีค่า EXIF ให้ เผื่อใครเทพอ่านค่าพวกนี้เป็น
1st Round ค่าแสง 305.0 lx / 28.34 ft-c
เปิดไฟทั้งห้อง สปอตไลท์สองฝั่งซ้ายขวา ไฟโคมด้านบน และไฟส่องด้านหน้า
EXIF info (From Picasa)
100% Crop
Lenovo Vibe Shot
SONY NEX-F3
2nd Round ค่าแสง 223~227 lx / 21.09 ft-c
ปิดไฟที่ส่องด้านหน้า นอกนั้นเหมือนเดิม
EXIF info (From Picasa)
100% Crop
Lenovo Vibe Shot
SONY NEX-F3
3rd Round ค่าแสง 66.0 lx / 6.13 ft-c
ปิดไฟส่องด้านหน้า ปิดไฟโคมด้านบน
EXIF info (From Picasa)
100% Crop
Lenovo Vibe Shot
SONY NEX-F3
Round 4 ค่าแสง 50.0 lx / 4.65 ft-c
ปิดสปอตไลท์ซ้ายขวา เหลือเฉพาะไฟในห้องเท่านั้น
EXIF info (From Picasa)
100% Crop
Lenovo Vibe Shot
SONY NEX-F3
Round 5 ค่าแสง 23.0 lx / 2.14 ft-c
เหลือแค่ไฟในห้อง และนำกระดาษมาปิดด้านบน
EXIF info (From Picasa)
100% Crop
Lenovo Vibe Shot
SONY NEX-F3
Round 6 ค่าแสง 3 lx / 0.28 ft-c
กระดาษปิดด้านบน แถมปิดไฟในห้อง 1 ดวง (ที่สว่างที่สุด) เหลือแต่ไฟสลัว ๆ
EXIF info (From Picasa)
100% Crop
Lenovo Vibe Shot
SONY NEX-F3
Round 7 ค่าแสง 3 lx / 0.28 ft-c เปิดแฟลช
ค่าแสงเท่ากับรอบที่ 6 นั่นแหล่ะ แต่เปิดแฟลชทั้งคู่ (ส่วนค่าตัวเลขมันมาจากแสงแฟลช อย่าไปใส่ใจ)
แฟลชของ Lenovo เป็นแบบสองจังหวะ
ส่วนของ NEX-F3 แฟลชกระพริบ 2 แล้วยิงแฟลชอีกที
100% Crop
Lenovo Vibe Shot
SONY NEX-F3
Round 8 ค่าแสง 0 lx / 0 ft-c เปิดแฟลช
ค่าแสง = 0 ก็หมายควมว่า ปิดไฟหมดทั้งห้อง มืดสนิทนั่นเอง
Auto Smart Comp ของ Lenovo ใช้โหมด Ultra Low Light ให้เองอัตโนมัติ
ส่วนของ NEX-F3 เป็นโหมดถ่ายภาพกลางคืนอัตโนมัติ (จาก Superior Auto)
EXIF info (From Picasa)
100% Crop
Lenovo Vibe Shot
SONY NEX-F3
Round 9 ค่าแสง 0 lx / 0 ft-c เปิดแฟลชยิงขึ้นเพดาน
ปิดไฟในห้องทั้งหมด มืดสนิท
ส่วนสุดท้ายเป็นสิ่งที่ Lenovo Vibe Shot ทำไม่ได้ นั่นคือ ยิงแฟลชขึ้นเพดาน
SONY NEX-F3 สามารถใช้นิ้วง้างแฟลชเพื่อยิงขึ้นเพดานได้ ทำให้ภาพออกมาดูมีมีติมากขึ้น
EXIF info (From Picasa)
100% Crop
SONY NEX-F3
เอาละ จบการ Test เปรียบเทียบไว้เพียงแค่นี้
มีความคิดเห็นเป็นอย่างไรกันบ้าง?
สามารถโหลดรูปทั้งหมดไปเปิดดูเองได้ที่นี่
ดูรีวิว Lenovo Vibe Shot ได้ที่นี่